Sunday, May 5, 2013

บทบาทของวิษณุ


บทบาทของวิษณุ
                 วิษณุถูกแสดงว่าเป็นเทพมี 4 แขนซึ่งอยู่บนโลกที่ละเอียด รูปของวิษณุตามความเป็นจริงเป็นสัญลักษณ์ของการรวมกันของศรีลักษมีและศรีนารายัญ จักพรรดิณีและจักพรรดิ์คู่แรกของยุคทอง พวกเขาปกครองร่วมกันและเป็นสัญลักษณ์ของการรวมกันของความรักและกฎ พวกเขาปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง ปราศจากความรุนแรงโดยสิ้นเชิง มีคุณธรรมที่สมบูรณ์และเป็นตัวแทนของเทพที่มีร่างกายอันสูงส่ง ศรีลักษมีและศรีนารายัญเป็นผู้ปกครองสวรรค์คู่แรก พวกเขามีมงกุฎทั้งสอง มงกุฎของแสงหรือรัศมีซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความศักดิ์สิทธิ์ หรือ ใจบุญ และมงกุฎทองคำซึ่งประดับด้วยเพชรพลอยเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจและเป็นเครื่องหมายของความสูงสุดแห่งอำนาจในการปกครอง และสามารถพูดได้ว่านี่เป็นความสูงสุดของมนุษย์ที่ปรากฎให้เห็นบนโลก

สัญลักษณ์ของเครื่องประดับสี่อย่าง
                  แต่ละมือของวิษณุมีสัญลักษณ์ที่ประดับไว้ด้วยเครื่องประดับทั้งสี่อย่าง คือ สังข์ จักร คฑา ดอกบัว
                  สังข์ เป็นเครื่องหมายของการถ่ายทอดความรู้ของพระเจ้า ซึ่งผ่านออกมาโดยปากเป็นสัญลักษณ์ของเสียงและคำพูด
                  จักร หรือ จักรา ใช้แทนความรู้เกี่ยวกับตนเองและวงจรของโลก
                  คฑา แทนชัยชนะที่มีเหนือกิเลสทั้งห้าในความคิด คำพูดและการกระทำ
                  ดอกบัว เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตครอบครัวที่บริสุทธิ์ และอยู่อย่างละวาง

วิษณุ คือเป้าหมายของราชโยคะ
                  วิษณุเป็นตัวแทนของมนุษย์ที่สมบูรณ์และเป็นจุดประสงค์และเป้าหมายของราชโยคะของพระเจ้า วิษณุเป็นตัวแทนของผู้ปกครองและอาณาประชาราษฎร์ ผู้ซึ่งได้รับการชำระให้บริสุทธิ์และเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์พร้อมของยุคทอง พวกเขาทั้งหมดเป็นผู้ซึ่งจะบำรุงรักษาโลกสัตยุคที่บริสุทธิ์และใหม่(ยุคทอง) พระเจ้า พ่อชีว่าพูดว่า สถานภาพที่สูงที่สุดที่มนุษย์จะได้รับจากท่านด้วยการศึกษาราชโยคะ นั่นคือจะได้กลายเป็นเทพ เช่นศรีลักษมีและศรีนารายัญซึ่งมีมงกุฎทั้งสอง ชีพบาบา ชักชวนมวลมนุษย์ให้เอาวิษณุเป็นแบบอย่าง และนำเอาสัญลักษณ์ซึ่งเป็นคุณสมบัติแห่งเครื่องประดับทั้งสี่มาใช้ในชีวิตที่เป็นจริงของพวกเขา ดวงวิญญาณผู้ซึ่งทำตามก็ได้รับสถานภาพเทพ นั่นคือ สภาวะที่สูงส่งสมบูรณ์พร้อมและมั่นคง เต็มไปด้วยความสุข และความมั่นคงร่ำรวยในโลกใหม่          



จากหนังสือ "ราชโยคะ ศาสตร์เพื่อการรู้แจ้ง"
BK.เรืออากาศเอกทรงยศ เปี่ยมใจ


No comments:

Post a Comment