Thursday, May 2, 2013

บทบาทของบราห์มา



บทบาทของบราห์มา
เพื่อจุดประสงค์ในการถ่ายทอดความรู้ของพระเจ้าและสอนราชโยคะให้กับมนุษย์ พระเจ้าชีว่าจึงลงมายังโลกมนุษย์จากที่อยู่สูงสุด(พารามธรรม) ท่านเป็นจุดแห่งแสงที่ปราศจากร่างและท่านเองไม่มีร่างเป็นของตน ท่านจึงยืมร่างของมนุษย์เป็นสื่อเพื่อใช้อวัยวะพูด เพื่อการถ่ายทอดความรู้ที่สูงส่ง ท่านไม่ได้เกิดเช่นเด็ก ๆ เหมือนมนุษย์ทั่วไปที่เกิดจากครรภ์ของมารดา ซึ่งนั่นจะเป็นเงื่อนไขให้การมาของท่านตกอยู่ภายใต้กฏแห่งกรรม และวงจรของการเกิดและตาย ท่านอยู่เหนือขบวนการเกิดและตายนี้ตลอดไป ดังนั้นท่านจึงอวตารลงมาในร่างของผู้ที่มีอาวุโสมีประสบการณ์และเป็นบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกไว้ ซึ่งท่านได้ใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารสำหรับถ่ายทอดความรู้ของพระเจ้า

พระเจ้าชีว่าได้ให้ชื่อที่สูงส่งกับบุคคลที่ท่านลงมาใช้ร่างว่า "ประชาปิตาบราห์มา" ร่างของประชาปิตา บราห์มา จึงมีสองดวงวิญญาณอยู่ในร่าง ดวงวิญญาณหนึ่งเป็นของท่านและอีกดวงหนึ่งเป็นของดวงวิญญาณสูงสุดที่เข้า ๆ ออก ๆ ร่างนี้ นี่เป็นวิธีการที่พระเจ้าพ่อชีว่าได้ลงมาจากโลกที่ไร้ร่างมาสู่โลกที่มีตัวตน การลงมาที่แสนจะพิเศษสู่ร่างมนุษย์ โดยพระเจ้าชีว่านี้ก็รู้จักกันว่าเป็น การอวตาร (การเกิดที่สูงส่ง) ซึ่งแตกต่างจากการเกิดของดวงวิญญาณมนุษย์ทั้งหมดโดยสิ้นเชิง เหตุการณ์มีการเฉลิมฉลองกันทุกปีในฐานะที่เป็น "ชีพราตรี" เพื่อเป็นการระลึกถึงการลงมาของพระเจ้าชีว่า เพื่อจบสิ้นกลางคืนของความไม่รู้ และทำลายกิเลสทั้งห้า

บราห์มา และ บราห์มิน
ตามประเพณีความเชื่อ บราห์มา รู้จักกันในฐานะเป็นผู้สร้าง มีการพูดกันว่าท่านสร้าง บราห์มิน จากปากของท่าน จะมีใครให้กำเนิดบุตรทางปากได้บ้าง ความหมายที่แท้จริงของการสร้างทางปากนั้น เป็นการที่พระเจ้าพ่อชีว่าได้ถ่ายทอดความรู้ทั้งหมดผ่านปากของประชาปิตาบราห์มา ซึ่งความรู้นี้ในตอนหลังได้กลายเป็นที่รู้จักกันในนามของ กีตะ ความรู้ที่ถ่ายทอดนั้นทำให้คนสามารถใช้ฝึกปฏิบัติราชโยคะที่ง่ายดาย ดวงวิญญาณเหล่านั้นจำบราห์มาได้ว่าเป็นเครื่องมือของพระเจ้า ได้รับความรู้ผ่านท่าน ฝึกปฏิบัติราชโยคะกับท่านและได้เกิดใหม่ทางดวงวิญญาณ พวกเขาเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น บราห์มินที่แท้จริง  
นี่เองที่บราห์มิน ถูกเรียกว่าเกิดสองครั้ง(Dwija) บราห์มินที่แท้นั้นมีพ่อ 3 คน คนแรกเป็นพ่อทางร่างกาย คนที่สอง ประชาปิตาบราห์มา และ คนที่สามพ่อผู้ไม่มีร่างเป็นของตนเอง พระเจ้าชีว่า


จากหนังสือ "ราชโยคะ ศาสตร์เพื่อการรู้แจ้ง"
BK.เรืออากาศเอกทรงยศ เปี่ยมใจ


No comments:

Post a Comment